วท. ได้มีนโยบายนำ วทน. สู่ท้องถิ่น โดยการบูรณาการงานด้าน วทน. กับจังหวัด/กลุ่มจังหวัด 18 กลุ่มจังหวัด ผ่านกลไกการนำงานด้าน วทน. สู่จังหวัด/ชุมชน เพื่อนำศักยภาพของจังหวัด/กลุ่มจังหวัดมาผสมผสานกับการวิจัย พัฒนาและนวัตกรรม ไปสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ การบริการและการจัดการทรัพยากรท้องถิ่น รวมถึงการถ่ายทอดความรู้ด้าน วทน. ให้แก่ท้องถิ่น เพื่อสามารถพึ่งตนเองและสร้างความเข็มแข็งแก่สังคมและเศรษฐกิจ
ประเทศไทยได้ปรับแนวคิดและทิศทางการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะในเรื่องการบริหารราชการที่เน้นให้มีการดำเนินงานในลักษณะบูรณาการระหว่าง Agenda – Function – Area กล่าวคือการเชื่อมประสานการดำเนินงานระหว่างส่วนราชการต่างๆ (Function) ให้สนอง ตอบต่อเป้าประสงค์ของประเด็นนโยบาย (Agenda) โดยคำนึงถึงความต้องการ ศักยภาพ และปัญหาของแต่ละพื้นที่ (Area) ซึ่ง วท. ได้ดำเนินงานในเรื่องต่างๆ เพื่อสนองตอบต่อเรื่องดังกล่าวในการเสริมสร้างขีดความสามารถทางการแข่งขันของประเทศ โดยใช้ฐานความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เป็นกลไกขับเคลื่อนทั้งระดับประเทศจนถึงระดับชุมชนหรือรากหญ้า รวมทั้งมีการดำเนินภารกิจซึ่งสนับสนุนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดให้บรรลุเป้าหมาย โดยมีกลไกการดำเนินงาน 13 รูปแบบคือ